สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 พฤษภาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,771 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,699 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,599 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,548 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,183 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,016 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,362 บาท/ตัน) ราคา
ลดลงจากตันละ 1,117 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,942 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 580 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,327 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 556 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,890 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.05 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 563 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,652 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 530 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,054 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 402 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 536 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,231 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 552 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,762 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.89 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 531 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1743
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาตให้สามารถส่งออกข้าวขาวได้อีกครั้ง เพื่อช่วยให้โรงสีข้าวสามารถระบายสต็อกข้าวเก่าที่เก็บไว้และยังเป็นการลดภาระดอกเบี้ยของผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมพื้นที่ว่างไว้รองรับการซื้อข้าวเปลือกฤดูใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
นอกจากนี้ สหพันธ์ข้าวกัมพูชายังได้ร้องขอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณอีกประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มเติมจากเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในการรับซื้อข้าวเปลือกประมาณ 800,000 ตัน และยังขอให้รัฐบาลยกเว้นภาษีสำหรับการขนส่งข้าวเปลือกและข้าวสารด้วย
ทางด้านประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชาตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากสถานการณ์การ Lockdown ทั่วประเทศ ส่งผลให้การส่งออกผลพลอยได้จากการสีข้าว เช่น รําข้าว ไม่สามารถทําได้ในช่วงนี้
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจําวันที่ 30 เมษายน 2563 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาตันละ 910 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากราคาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 ที่ตันละ 930 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคาตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากราคาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 ที่ตันละ 820 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคาตันละ 595 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563) ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาตันละ 1,350 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563)
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodian Rice Federation; CRF) รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2563 กัมพูชาส่งออกข้าวจํานวน 69,304 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 26.6 เมื่อเทียบกับจํานวน 94,449 ตัน ที่ส่งออกได้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 61.4 เมื่อเทียบกับจํานวน 42,942 ตัน ที่ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน) กัมพูชาส่งออกข้าวจํานวน 300,252 ตัน เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับจํานวน 213,763 ตัน ที่ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ถือเป็นระดับ
การส่งออกที่สูงสุดในรอบ 4 เดือน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา)
ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน) กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนจํานวน 122,094 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับจํานวน 95,066 ตัน ที่ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 41 ของการส่งออกทั้งหมดในไตรมาสแรก) ส่งไปตลาดสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจํานวน 97,337 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับจํานวน 65,528 ตัน ที่ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิด เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 32 ของการส่งออกทั้งหมด) ส่งไปตลาดอาเซียนจํานวน 37,428 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับจํานวน 28,906 ตัน ที่ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 13 ของการ ส่งออกทั้งหมด) และส่งไปตลาดอื่นๆ จํานวน 43,393 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับจํานวน 24,263 ตัน ที่ ส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 ของการส่งออกทั้งหมด)
สำหรับตลาดอื่นๆ ที่กัมพูชาส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และกาบอง เป็นต้น
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
เมียนมา
สมาพันธ์ข้าวเมียนมา (The Myanmar Rice Federation; MRF) รายงานว่า เมียนมาจะเริ่มกลับมาส่งออกข้าวในเดือนพฤษภาคมนี้ ปริมาณ 150,000 ตัน โดย 100,000 ตัน จะส่งออกไปโดยเรือบรรทุกสินค้าทางทะเล และอีก 50,000 ตัน จะเป็นการค้าขายตามแนวชายแดน หลังจากเดือนเมษายนที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์เมียนมา
(the Ministry of Commerce) มีคําสั่งระงับการออกใบอนุญาตส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่มีการปรับปรุงระบบการจัดสรรการส่งออกข้าวให้ดีขึ้น
สมาพันธ์ข้าวเมียนมาชี้ว่า จากการประมาณการณ์ของรัฐบาลจะมีการจัดสรรข้าวเพื่อการส่งออกใน ปีงบประมาณนี้ มากกว่า 2 ล้านตัน แต่ในจํานวนนี้ประมาณร้อยละ 10 จะเป็นการเก็บสํารองไว้เพื่อการบริโภคใน ประเทศ โดยจะมี 112 บริษัท เป็นผู้ส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ และอีก 200 บริษัทที่จะทําการขายข้าวบริเวณ ชายแดน นอกจากนี้ สมาพันธ์ข้าวเมียนมากําลังเจรจากับเพื่อนบ้านในอาเซียน และมีการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐเรื่องการส่งออกข้าวด้วย
นายอูซอ ตุน (Dr. Soe Tun) หนึ่งในผู้บริหารของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวว่า ในแต่ละปีเมียนมามีผลผลิตข้าวส่วนเกิน อยู่ระหว่าง 2.5-3 ล้านตัน ซึ่งผลผลิตส่วนนี้จะส่งออกไปขายในต่างประเทศทุกปี โดยในปีที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าวไปราว 2.5 ล้านตัน ส่วนการส่งออกข้าวในปีนี้จะอยู่ในปริมาณที่รัฐบาลกําหนดเพื่อสํารองส่วนหนึ่งเผื่อไว้ในประเทศในช่วงที่กําลังมีสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้ จะมีการจัดสรรปริมาณการส่งออกของแต่ละบริษัทซึ่งจะได้สัดส่วนร้อยละ 60 ของปริมาณการส่งออก เฉลี่ยต่อเดือน ในช่วง 30 เดือนที่ผ่านมา และบริษัทที่มีคุณสมบัติดีกว่าจะได้รับโควตามากขึ้น นอกจานกี้ผู้ส่งออกข้าว จําเป็นต้องขายข้าวให้กับรัฐบาลในปริมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดด้วย
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินโดนีเซีย
กระทรวงประสานงานเศรษฐกิจ (The Coordinating Minister for Economic Affairs) ระบุว่า อินโดนีเซียจะมีสต็อกข้าวในช่วงสิ้นปีนี้ ที่ประมาณ 4.7 ล้านตัน ซึ่งจากการประชุมคณะรัฐมนตรีที่มีประธานาธิบดี Joko Widodo (Jokowi) เข้าร่วมด้วยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการสั่งการให้ให้หน่วยงานโลจิสติกส์ BULOG รักษาระดับสต็อกข้าวให้ได้ประมาณ 900,000-1,400,000 ตัน โดยมอบหมายให้ BULOG จัดหาข้าวเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาล
ในการจัดสรรข้าวประมาณ 450,000 ตัน ให้แก่ประชาชนที่ยากจน
ทั้งนี้ ประธานาธิบดี Joko Widodo ได้สั่งการให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจัดทําโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกรรักษาผลผลิตอาหารในประเทศในช่วงฤดูการเพาะปลูกครั้งต่อไป โดยรัฐบาลอินโดนีเซียกําลังวางแผนที่จะสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรประมาณ 2.44 ล้านคน เพื่อรักษาระดับการผลิตข้าวในประเทศท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานเศรษฐกิจ (The Coordinating Minister for Economic Affairs) ระบุว่าจะให้แรงจูงใจแก่เกษตรกรก่อนฤดูการปลูกครั้งต่อไปที่จะเริ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะให้ค่าตอบแทนรายเดือนประมาณ 600,000 รูเปียห์ (ประมาณ 38 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ให้กับเกษตรกรในช่วงสามเดือนข้างหน้าในรูปของการช่วยเหลือ
ด้านเงินสดโดยตรง ซึ่งความช่วยเหลือทางการเงินจะประกอบด้วยเงินสดประมาณ 300,000 รูเปียห์ และอีก 300,000
รูเปียห์ในรูปของปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์และปุ๋ย เป็นต้น โดยกระทรวงเกษตรจะประกาศขั้นตอนการขอรับเงินช่วยเหลือต่อไป และมั่นใจว่ารัฐบาลจะมีสต็อกข้าวเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการในช่วงเดือนรอมฎอน และช่วง Idul Fitri แม้จะยังมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยในเดือนเมษายนนี้คาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 5.6 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2561 และ 2562 และปกติฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ขณะที่สต็อกของหน่วยงานโลจิสติกส์ BULOG (The State Logistics Agency) มีข้าวสํารองในคลังสินค้าประมาณ 6.3 ล้านตัน
กระทรวงการค้าและหน่วยงานโลจิสติกส์ BULOG จะทําการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทุกภูมิภาคจะมีข้าว เพียงพอ โดย BULOG จะจัดส่งข้าวไปยัง 7 ภูมิภาค ที่มีข้าวไม่เพียงพอ จํานวน 450,000 ตัน ซึ่งการกระจายข้าวและ การตรวจสอบเสบียงอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูส่วนเกินหรือส่วนขาดหรือความจําเป็นต้องเพิ่มการผลิต และมาตรการจํากัดกิจกรรมทางสังคมจะต้องไม่กระทบต่อการกระจายอาหารระหว่างจังหวัดและหมู่เกาะในประเทศ
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงต้องเตรียมความพร้อมสําหรับภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ แม้ว่าหน่วยงานด้าน อุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์ (BMKG) ของอินโดนีเซียจะคาดการณ์ว่าอินโดนีเซียจะไม่ประสบปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรงในปีนี้
ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพของเสบียงอาหารหลักของประเทศให้เพียงพอ โดยเฉพาะข้าว โดยหน่วยงานโลจิสติกส์ BULOG จะนําเข้าสินค้าข้าวหลังจากได้รับคํารับรองการนําเข้า (Import Recommendation) จากกระทรวงประสานงานด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียแล้ว ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาอินโดนีเซียจะนําเข้าข้าวจากไทยและเวียดนามเป็นส่วนใหญ่
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
​ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.49 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,696 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 274.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,836 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 140 บาท 
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 317.20 เซนต์ (4,069 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 307.88 เซนต์ (3,952 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 117 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.666 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.702 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 2.12 และร้อยละ 1.96 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.72 บาท ลดลงจาก กก.ละ 2.76 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45           
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.04 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 20.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.40      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียจะลดลงร้อยละ 1 จากปี 2562 เนื่องจากปี 2562 สภาพอากาศแห้งแล้ง เกษตรกรใส่ปุ๋ยน้อย และการปิดประเทศเพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดการณ์ว่าผลผลิตในปี 2563 จะลดลงอยู่ที่ 19.70 ล้านตัน จากปี 2562 จากการคาดการณ์ของ MPOC พบว่า ผลปาล์มสดในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ลดลง 21 เปอร์เซ็นต์ ไปอยู่ที่ 3.37 ตันต่อเฮกตาร์ เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ได้ผลผลิต 4.28 ตันต่อเฮกตาร์ สต็อกน้ำมันปาล์ม ณ สิ้นปี 2563 คาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 1.90 ล้านตัน จาก 2.00 ล้านตัน ในปี 2562 สต็อกที่ลดลงอาจจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ราคาสูงขึ้น หลังจากที่ราคาลดลงไปถึงร้อยละ 37 ตั้งแต่ต้นปี 2563 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,026.61 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.42 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,069.03 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 521.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 520.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32
หมายเหตุ :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
            คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 เห็นชอบโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ดังนี้
          1. ใช้แหล่งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 10,000 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ทั้งนี้ การช่วยเหลือแยกหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเป็น 2 กรณี ดังนี้
          1.1 วงเงิน 6,500 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าโรงงานทุกราย ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ 2527 และได้ทำสัญญาส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลก่อนเปิดหีบอ้อย โดยกำหนดการช่วยเหลือในอัตราตันอ้อยละไม่เกิน 85 บาท รายละไม่เกิน 5,000 ตัน
          1.2 วงเงิน 3,500 ล้านบาท เป็นการช่วยเหลือตามมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยช่วยเหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อย โดยกำหนดเงินช่วยเหลือในอัตราตันอ้อยละไม่เกิน 93 บาท
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 
 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 838.20 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 833.80 เซนต์ (9.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 284.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.27 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 285.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 25.87 เซนต์ (18.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 25.47 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57
 

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.41 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 30.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 31.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.23
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 18.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 44.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 996.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 963.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.34 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 902.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 869.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.01บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,025.50 ดอลลาร์สหรัฐ (32.97 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 995.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.07 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.95 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 620.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.93 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 588.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.41 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.00 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,490.50 ดอลลาร์สหรัฐ (47.92 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,395.40 ดอลลาร์สหรัฐ (44.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.82 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.45 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.89 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.94
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.33 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.44
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 1.87


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.73 เซนต์(กิโลกรัมละ 39.32 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 56.17 เซนต์ (กิโลกรัมละ 40.38 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.56 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.06 บาท

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,785 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 888 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนอบอ้าวในหลายพื้นที่ ทำให้สุกรเจริญเติบโตช้าผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรอยู่ในระดับเดิม แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 67.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.18 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.18 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,000 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 1,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.11
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท สูงขึ้นจากิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.96


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.70 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.11


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่สถานศึกษายังปิดภาคเรียน ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากและสะสม
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 292  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 312 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 281 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
   

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 380 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 318 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.98บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.85 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 

 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.49 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.32 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 134.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.16 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.11 บาท ราคา สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.68 บาท              
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา